การฉีดวัคซีน หนึ่งวิธีที่ดีที่สุดในการสร้างเกราะป้องกันโรคต่างๆ เสริมสร้างภูมิต้านทาน โดยเฉพาะในวัยแรกเกิดจนถึงอายุ 12 ปี การได้รับวัคซีนที่จำเป็นครบตั้งแต่แรกเกิด จะเป็นการช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทาน ปกป้องลูกน้อยจากเชื้อโรคและไวรัส แต่หากไม่ได้รับการฉีดวัคซีน อาจส่งผลต่อการพัฒนาการในเด็ก เนื่องจากเป็นวัยที่มีภูมิต้านทานต่ำและเจ็บป่วยได้ง่าย ทำความรู้จักกับวัคซีนสำหรับเด็กที่ควรรับ มีวัคซีนอะไรบ้าง

วัคซีนพื้นฐานตามวัยสำหรับทารก (Essential Vaccines according to age for babies)

– วัณโรค (BCG) เป็นวัคซีนที่เด็กทุกคนควรได้รับตั้งแต่แรกเกิด
– คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก (DTaP) วัคซีนชนิดไร้เซลล์ที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่เด็ก ป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยักและไอกรน

– หัด หัดเยอรมัน คางทูม (MMR) วัคซีนที่ทำให้เชื้ออ่อนฤทธิ์ลงจนไม่สามารถก่อโรคได้
– ตับอักเสบบี (HBV) ป้องกันการติดเชื้อตั้งแต่แรกเกิด เพราะการติดเชื้อในวัยเด็กจะทำให้เด็กที่ติดเชื้อเป็นพาหะของโรคนี้ได้สูง
– โปลิโอ (IPV) ป้องกันไวรัสโปลิโอซึ่งติดต่อจากคนสู่คน ผ่านอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัส
– เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อ HIB ป้องกันจากการติดเชื้อแบคทีเรีย HIB ผ่านทางการหายใจเอาละอองฝอยหรือสัมผัสโดยตรงกับเสมหะ
– วัคซีนไวรัสโรต้า (Rota vaccine) ป้องกันโรคท้องร่วงจากการติดเชื้อไวรัสโรต้า ซึ่งพบได้ในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี ให้ตั้งแต่อายุ 2 เดือนขึ้นไป (ควรให้ครั้งแรกในเด็ก อายุไม่เกิน 16 สัปดาห์ และควรครบก่อนอายุ 8 เดือน)
– วัคซีนนิวโมคอคคัส (PCV / IPD Vaccine) ป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัส (Pneumococcus) ซึ่งเป็นสาเหตุโรคปอดอักเสบรุนแรง
ฉีดได้ตั้งแต่อายุ 2 เดือนขึ้นไป
– วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ (Influenza Vaccine) ลดความเสี่ยงและการเกิดภาวะแทรกซ้อนติดเชื้อไข้หวัดใหญ่รุนแรง แนะนำฉีดกระตุ้นปีละ 1 ครั้ง เริ่มให้ตั้งแต่อายุ 6 เดือนเป็นต้นไป

การฉีดวัคซีนเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดีที่สุดในการสร้างเกราะป้องกันโรคต่างๆ โดยการฉีดวัคซีนในเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 12 ปี ถือเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญ ไม่ละเลย

ในช่วงสถานการณ์ Covid-19 คุณพ่อคุณแม่หลายท่านอาจเป็นกังวลในการพาลูกมาโรงพยาบาล ไม่ว่าจะเป็นจากการเจ็บป่วย นัดฉีดวัคซีน หรือปรึกษาเกี่ยวกับด้านการพัฒนาการของเด็ก หากเด็กๆ ไม่สามารถมารับวัคซีนตามที่กำหนด มีความจำเป็นที่จะต้องเลื่อนนัดการรับวัคซีน สามารถพิจารณาตามแนวทางของสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย

 

ติดตามเรื่องเกี่ยวกับเด็กได้ที่  vfdide.com