ตาบอดสี เกิดจากอะไรและสามารถรักษาให้หายได้ไหม

ตาบอดสี คืออะไร ?

โรคตาบอดสี (Color Blindness) เป็นภาวะพร่องการมองเห็นสี ผู้ที่มีอาการตาบอดสีจะมีการมองเห็นสีบางสีได้ไม่ชัดเจนหรือผิดเพี้ยนไปจากผู้มีสายตาปกติ โดยส่วนใหญ่มักพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ผู้ที่เป็นตาบอดสีจะยังคงมองเห็นภาพได้ชัดเจน แต่เห็นสีต่างๆ ผิดจากคนปกติ​ สีที่คนตาบอดสีเห็นจะกลายเป็นโทนสีเทาทั้งหมด และสีของภาพอาจมีการมองเห็นสลับสีกัน ได้แก่ ระหว่างสีเขียวกับสีน้ำเงิน สีแดงกับสีดำ สีเหลืองกับสีขาว บางรายอาจมีปัญหาเกี่ยวกับความไวต่อแสงของดวงตาอีกด้วย

ตาบอดสี เกิดจากอะไร?

สาเหตุของการเกิดโรคตาบอดสีนั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ เป็นได้ตั้งแต่กำเนิด หรือเป็นได้ในภายหลัง ดังนี้

กรรมพันธุ์ เป็นสาเหตุหลักของตาบอดสีได้มากที่สุด หากบุคคลที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นตาบอดสีจะส่งต่อพันธุกรรมไปยังรุ่นต่อไปโดยการถ่ายทอดผ่านยีนด้อยบนโครโมโซมเพศชนิดเอ็กซ์ (Chromosome X) ซึ่งยีนโครโมโซมเพศนี้จะมีหน้าที่ในการกำหนดเพศชายหรือเพศหญิง โดยโครโมโซมเพศชายจะเป็นเอ็กซ์วาย (Chromosome XY) และเพศหญิงเป็นเอ็กซ์เอ็กซ์ (Chromosome XX) เมื่อตาบอดสีเป็นการถ่ายทอดผ่านบนโครโมโซมเอ็กซ์ จึงทำให้สามารถพบตาบอดสีในเพศชายได้มากกว่าเพศหญิงในรุ่นลูก ในขณะที่เพศหญิงอาจเป็นเพียงพาหะที่สามารถถ่ายทอดยีนที่ผิดปกติไปสู่ลูกหลานได้แทน นอกจากนี้ยังอาจเกิดการถ่ายทอดทางพันธุกรรมข้ามรุ่นได้ เช่น ตาเป็นตาบอดสี มารดาอาจเป็นพาหะ และพบตาบอดสีในหลานชายแทน

สาเหตุอื่น ในบางราย ตาบอดสีอาจเกิดได้จากสภาวะบางอย่างของร่างกาย เช่น

  • อายุที่เพิ่มมากขึ้น อาจส่งผลให้เกิดการเสื่อมของเซลล์ได้ตามวัยที่เพิ่มมากขึ้น
  • โรคเกี่ยวกับด้านดวงตาหรือการบาดเจ็บบริเวณจอตา เช่น โรคต้อหิน จอประสาทตาเสื่อม ต้อกระจก หรือการได้รับบาดเจ็บบริเวณดวงตา
  • โรคอื่นๆ เช่น โรคอัลไซเมอร์ โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง โรคเบาหวาน หรือโรคพาร์กินสัน
  • ผลข้างเคียงของการใช้ยาบางชนิด
  • การได้รับสารเคมีบางชนิดเป็นระยะเวลานาน เช่น คาร์บอนไดซัลไฟด์หรือสไตรีน อาจส่งผลต่อการสูญเสียการมองเห็นสี

อาการของโรคตาบอดสี

แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้

  1. ระดับน้อย สีภาพที่เห็นอาจไม่เหมือนคนทั่วไป แต่สามารถบอกได้ว่าน่าจะเป็นสีอะไร
  2. ระดับปานกลาง ความสามารถในการแยกสีน้อยลง
  3. ระดับรุนแรง เห็นทุกอย่างเป็นสีขาวกับดำ ซึ่งระดับนี้กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก

วิธีการทดสอบตาบอดสี

ผู้ที่ต้องการตรวจว่าเป็นโรคตาบอดสีหรือไม่ ควรเข้ารับการตรวจและปรึกษาจากจักษุแพทย์ ซึ่งวิธีวินิจฉัยโรคตาบอดสีมีอยู่หลายวิธี แตกต่างกันไป ได้แก่ แผ่นทดสอบอิชิฮารา (Ishihara plates), แบบทดสอบเคมบริดจ์ (Cambridge color test), การทดสอบด้วยเครื่อง Anomaloscope เป็นต้น

แผ่นทดสอบอิชิฮารา (Ishihara plates) เป็นวิธีการทดสอบที่พบได้มากและได้รับความนิยมมากที่สุด จัดเป็นการตรวจในระดับคัดกรอง (Screening) เพื่อดูว่าผู้เข้ารับการตรวจมีภาวะตาบอดสีหรือไม่ โดยผู้เข้ารับการตรวจจะได้ดูแผ่นภาพหรือแผ่นกระดาษหลายๆ หน้า โดยจุดสีที่ใช้จะเป็นสีที่คนตาบอดสีมักสับสน ถ้าสามารถอ่านและลากเส้นได้ถูกต้องทั้งหมดก็ถือว่าตาปกติ แต่ในคนตาบอดสีแดงซึ่งจะสับสนระหว่างสีแดงและสีน้ำเงินอมเขียว ถ้ามีตัวเลขสีแดงบนพื้นสีน้ำเงินอมเขียวก็จะทำให้มองไม่เห็นตัวเลขบนแผ่นทดสอบที่ซ่อนอยู่

การวินิจฉัยตาบอดสี

แพทย์หรือจักษุแพทย์จะวินิจฉัยผู้ป่วยโดยใช้แผ่นภาพทดสอบตาบอดสี เพื่อดูความสามารถในการแยกแยะสี ซึ่งรูปแบบแผ่นภาพที่ใช้ทดสอบมีอยู่หลากหลายประเภท แต่แผ่นทดสอบตาบอดสีที่นิยมใช้จะมีอยู่ 2 แบบ ได้แก่

  • แผ่นภาพอิชิฮะระ (Ishihara) ในแต่ละภาพจะมีจุดสีที่ต่างกัน แพทย์จะให้ผู้ป่วยมองหาตัวเลขบนแผ่นภาพนั้นๆ หากผู้ที่เป็นตาบอดสีจะไม่สามารถบอกตัวเลขจากภาพได้ถูกต้อง วิธีนี้สามารถคัดกรองผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็ว แต่ไม่สามารถบอกได้ถึงระดับความรุนแรงของตาบอดสี
  • การเรียงเฉดสี (Color Arrangement) ผู้ป่วยจะต้องไล่เฉดสีที่กำหนดมาให้ โดยต้องไล่เฉดสีที่คล้ายกันให้อยู่ใกล้กันได้อย่างถูกต้อง หากผู้ป่วยเป็นตาบอดสีจะเกิดความสับสนในการเรียงสีให้ถูกต้อง

ตาบอดสี

วิธีการทดสอบตาบอดสีโดยแผ่นทดสอบอิชิฮารา (Ishihara plates)

IMAGE SOURCE : thechromologist.com

ตาบอดสีกับผลกระทบในชีวิตประจำวัน

ในการใช้ชีวิตประจำวัน ผู้ป่วยตาบอดสีอาจมองเห็นสีผิดเพี้ยนไปบ้าง ซึ่งอาจเกิดความยุ่งยากในการตัดสินใจเกี่ยวกับเลือกสีของสิ่งของอยู่บ้าง ผู้ที่มีภาวะตาบอดสีมีหลายประเภท อาจจะมองไม่เห็นหรือจำแนกสีหนึ่งออกจากอีกสีได้ยาก เช่น สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีเหลือง ทำให้สีที่เห็นผิดเพี้ยนไป หรือในคนที่ตาบอดทุกสีหรือตาบอดสีระดับรุนแรง จะทำให้มองเห็นสิ่งต่างๆ เป็นสีขาวดำ ตาบอดสีส่งผลกระทบอย่างไรในแต่ละอาชีพ?

  • วัยเด็ก – วัยเรียน มีผลกระทบต่อเรื่องของการเรียนศิลปะ การประเมินพัฒนาการด้านภาษา และพัฒนาการในการเรียนรู้
  • งานที่ผู้ทึ่มีภาวะตาบอดสีควรหลีกเลี่ยงได้แก่ งานด้านเคมี จิตรกร นักบิน ช่างอิเทคโทรนิกส์ หรืองานที่ต้องมีการใช้สีเป็นสัญลักษณ์สื่อถึงสิ่งต่างๆ
  • ผู้ที่มีภาวะตาบอดสีสามารถสอบใบขับขี่ได้ หากสามารถบอกความแตกต่างของสัญญาณไฟจราจรได้อย่างถูกต้อง และผ่านเกณฑ์ประเมินอื่นๆ

ตาบอดสีรักษาได้ไหม และเกิดภาวะแทรกซ้อนของตาบอดสีหรือไม่

สำหรับผู้ที่เป็นตาบอดสีโดยกรรมพันธุ์ไม่สามารถรักษาให้หายกลับมาเป็นปกติได้ โดยหากผู้ป่วยทราบว่าตนเองเป็นตาบอดสีแต่กรรมพันธุ์ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาแนวทางป้องกันการเกิดภาวะตาบอดสีในเครือญาติ ในกรณีที่ไม่เป็นตาบอดสีแต่กำเนิด ควรปรึกษาจักษุแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุการเกิดตาบอดสี เพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสม

จักษุแพทย์อาจมีการแนะนำให้ผู้ป่วยตาบอดสี สวมแว่นตาหรือคอนแทคเลนส์ที่มีเลนส์กรองแสงบางสีออกไป ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยมองเห็นสีได้ชัดขึ้น แต่ไม่ได้ทำให้ผู้ป่วยมองเห็นสีได้เหมือนคนปกติ

ผู้ที่เป็นตาบอดสี สามารถทำเลสิคได้ (LASIK) ได้ เช่นเดียวกันกับผู้ที่มีสภาวะตาปกติทั่วไป แต่การรักษาด้วยวิธีการทำเลสิค เป็นการรักษาอาการสายตาผิดปกติ สายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียงเท่านั้น ไม่สามารถช่วยรักษาโรคตาบอดสีได้

การตรวจิวินิจฉัยโรคตาบอดสี ควรตรวจคัดกรองตาบอดสีตั้งแต่เนิ่นๆ โดยแนะนำที่อายุ 4 บวขครึ่ง เพื่อป้องกันการเกิดภาวะช็อคเมื่อตนเองตาบอดสี ซึ่งจะทำให้เกิดช้อจำกัดต่างๆ ในการดำเนินชีวิต และการพบว่าเป็นโรคตาบอดสีได้เร็ว จะช่วยในการวางแผนการรักษาและวางแผนการใช้ชีวิตได้ดี

ภาวะแทรกซ้อนของตาบอดสี

ตาบอดสีแทบไม่พบภาวะแทรกซ้อน แต่อาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงร้ายแรง โดยเฉพาะอาชีพในบางลักษณะที่ต้องอาศัยการแยกและจดจำสีในการทำงาน เช่น พนักงานขับรถ นักบิน เจ้าหน้าที่ดับเพลิง ช่างเทคนิคในห้องปฏิบัติการประจำโรงพยาบาลและเภสัชกร หรือผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับการถ่ายภาพ นอกจากนี้ยังอาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการในการเรียนรู้สำหรับผู้ป่วยที่เป็นเด็ก

3 เคล็ดลับ การสอบใบขับขี่สำหรับคนตาบอดสี

การสอบใบขับขี่ในประเทศไทยสำหรับคนตาบอดสี นับว่ายังเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันอยู่ บางขนส่งก็อะลุ่มอล่วย บางขนส่งก็เข้มงวด จะดีกว่ามั้ยถ้ามีเคล็ดลับในการพิชิตใบขับขี่ฉบับคนตาบอดสี ทุกคนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้เลยถ้าเดินตามแผนนี้

1.ต้องแยกสัญญาณไฟจราจรได้

ถือว่าเป็นคุณสมบัติที่สำคัญที่สุดในการทำใบขับขี่เลยก็ว่าได้ เพราะถ้าดูไฟจราจรไม่ออกนั่นหมายถึงเรามีความเสี่ยงในการขับขี่ และนำไปสู่อุบัติเหตุในท้องถนนได้ แต่เรื่องที่น่าตลกก็คือ คนตาบอดสีหลายๆ คน สามารถแยกไฟจราจรได้ แต่เมื่อเวลาไปสอบที่ขนส่ง แบบทดสอบปราบเซียนที่จะมาดับฝันเราก็คือ แบบทดสอบ Ishihara ซึ่งเป็นจุดสีหลายๆสีคละกันไป และร้อยเรียงเป็นตัวเลข คนตาบอดสีจะสอบตกกันทุกคน สิ่งสำคัญที่เราต้องทำเมื่อเราเจอแบบทดสอบนี้ก็คือ ขอร้องให้เจ้าหน้าที่ให้เราสอบแยกสีกับสัญญาณไฟจราจรจำลอง ซึ่งมันจะเหมือนกับเราดูไฟจราจรของจริง ไม่มีเฉดสีอื่นมารบกวน

2. ต้องสามารถทนต่อการโดนปฏิเสธ

ต้องยอมรับเลยว่าในสังคมไทยทุกวันนี้ยังเข้าใจผิดเรื่องคนตาบอดสีเป็นจำนวนมาก บางคนเข้าใจว่า คนที่ตาบอดสีจะมองภาพเป็นสีขาวดำแต่จริงๆ แล้ว พวกคนตาบอดสี พวกเค้ายังคงมองเห็นสีอยู่ แต่จะแยกสีลำบากในบางเฉดสี ดังนั้นถ้าเรามีอาการตาบอดสีแล้วไปสอบใบขับขี่ จะต้องโดนปฏิเสธไว้ก่อนเลย ต้องทำใจยอมรับให้ได้ และอธิบายพวกเจ้าหน้าที่ให้ทราบว่า เราขับรถได้ แยกสัญญาณไฟจราจรได้ แต่ไม่อารมณ์เสียตามพวกเค้าไป มนุษย์เราสิ่งที่น่ากลัวพอๆ กับความตายก็คือการโดนสังคมปฏิเสธ ดังนั้นต้องปลงกับเรื่องนี้ให้ได้ และฝ่าฝันกันต่อไป

3. สอบไปเรื่อยๆ สักวันต้องเป็นวันของเรา

“ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น” คำนี้ยังคงใช้ได้กับทุกเรื่อง แม้แต่เรื่องนี้ วันนี้สอบตกที่ขนส่งจังหวัดนี้ ครั้งหน้ามาใหม่ หรือเปลี่ยนที่แล้วก็ขอให้พยายามต่อไปอยู่ภายใต้เคล็ดลับเหล่านี้

ตาบอดสี ยังไม่สามารถป้องกันการเกิดได้อย่างเต็มที่ แต่สามารถเลี่ยงหรือลดโอกาสการเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ในวัยเด็ก โดยควรมีการตรวจคัดกรองตาบอดสีและทดสอบสายตาในเด็กอายุประมาณ 3-5 ขวบ หรือเด็กควรได้รับการตรวจสายตาอย่างน้อย 1 ครั้งก่อนเข้าโรงเรียน แต่หากเป็นบุคคลที่มีคนในครอบครัวเป็นตาบอดสี ควรมีการตรวจเช็คสายตาอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ผู้ที่ไม่มีประวัติเกี่ยวข้องกับบุคคลที่เป็นตาบอดสี ควรสังเกตความผิดปกติของสายตาตนเองเช่นกัน เนื่องจากตาบอดสีเกิดได้จากสาเหตุอื่น เมื่อสงสัยว่ามีปัญหาทางด้านสายตาหรือการมองเห็นสีที่ผิดปกติไป ควรรีบไปพบแพทย์หรือจักษุแพทย์ เพื่อค้นหาต้นเหตุความผิดปกติและได้รับการแก้ไขอย่างถูกวิธี 

ที่มา

 

ติดตามอ่านเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพได้ที่  vfdide.com

สนุนสนุนโดย  ufabet369